โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

โกลเด้นไลฟ์ เนอร์สซิ่งโฮม logo

 

รับดูแลผู้สูงอายุ,ดูแลผู้ป่วย,ผู้ป่วยระยะ พักฟื้น,บ้านพักผู้สูงอายุ,ให้อาหารทางสายยาง,กายภาพบำบัด,แผลกดทับ,สวน ปัสสาวะ,สมองเสื่อม,เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,โรคกระดูกและข้อ,หลงลืม,อัมพาต ครึ่งซีก,อ่อนแรงครึ่งซีก,อัมพฤกษ์,อัมพาต,เจาะคอ,อัลไซเมอร์

Goldenlife Nursing Home ติดต่อ : ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วย

02 – 584-3705 , 02-583-7709

_DSC0699

apoteketreceptfritt.com

: ‘Cordia New’; mso-bidi-theme-font: minor-bidi;”>โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

            กระดูกพรุนคือการที่กระดูกในร่างกายโปร่งบาง มีความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง ทำให้กระดูกหักได้ง่าย โดยทั่วไปกระดูกคนเราจะมีการสร้างและสึกกร่อนไป ช่วงก่อนอายุ 30 – 35 ปี จะมีการสร้างมากกว่าการทำลาย หลังจากนั้นจะมีการทำลายมากกว่าการสร้างทำให้กระดูกบางลงเรื่อยๆ อย่างช้าๆ แต่สำหรับในผู้สูงอายุหญิง เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนการทำลายมวลกระดูกจะรวดเร็วขึ้น ทำให้กระดูกบางลงอย่างรวดเร็ว

            โดยปกติการที่กระดูกแข็งแรง ร่างกายต้องได้รับแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินในปริมาณที่เพียงพอ แร่ธาตุจะเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ส่วนวิตามินช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากอาหารและทำให้แคลเซียมไปสร้างกระดูกที่แข็งแรง แหล่งของวิตามินดีนั้นนอกจากจะมีในอาหารแล้ว ยังมาจากการที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง เมื่อได้รับแสงแดดด้วย นอกจากนั้นการที่กระดูกจะแข็งแรงได้ ยังต้องอาศัยฮอร์โมนอื่นๆด้วย ได้แก่ เอสโทรเจน ( ฮอร์โมนเพศหญิง ) เทสโทสเตอโรน ( ฮอร์โมนเพศชาย ) พาราไทรอยด์ฮอร์โมน และโกรทฮอร์โมน

อาการ

          ส่วนใหญ่โรคกระดูกพรุนไม่ค่อยทำให้เกิดอาการใดๆ ในระยะแรก แต่ความสูงจะเริ่มลดลง หลังจะค่อมขึ้น บางคนถึงกับหลังโก่ง เนื่องจากกระดูกสันหลังยุบตัว แต่อาการที่จะเห็นได้ชัดคือกระดูกหัก แม้จะเกิดแรงกระแทกไม่มาก เช่น แค่ลื่นล้มก็ทำให้กระดูกหักได้ แม้เกิดแรงกระแทกที่ไม่มาก ตำแหน่งกระดูกที่หักบ่อยในผู้ที่มีโรคกระดูกพรุนมักจะเป็นกระดูกข้อมือ กระดูกสันหลัง กระดูกข้อสะโพก ซึ่งหลังจากเกิดกระดูกหักโดยเฉพาะกระดูกข้อสะโพก อาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายตามมาได้มาก บางครั้งอาจไม่สามารถเดินได้อีก ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้มากมาย

ปัจจัยเสี่ยง

          บางคนมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างทำให้มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนและบางคนก็มีหลายปัจจัยเสี่ยง โดยบางปัจจัยเสี่ยงไม่สามารถเปลี่ยนแปลได้ แต่บางปัจจัยเสี่ยงก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้

            ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้

          เพศ ผู้หญิงมีความเสี่ยในการเกิดโรคกระดูกพรุนสูงกว่าผู้ชาย เนื่องจากกระดูกมีความหนาแน่นน้อยกว่าและยังสูญเสียมวลกระดูกได้เร็วกว่าผู้ชายอีกด้วย

          อายุ เมื่อมีอายุมากขึ้น เข้าสู่วัยชรา มวลกระดูกก็จะยิ่งลดลง

          เชื้อชาติ คนผิวขาวและเอเชียมีความเสี่ยต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนสูงกว่า

          ประวัติครอบครัว ถ้าในครอบครัวมีคนที่กระดูกหัก โดยไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง ก็อาจีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนและกระดูกหักได้สูงขึ้น

          ขนาดรูปร่าง จริงๆแล้วขนาดตัวอาจเปลี่ยนแปลงได้ แต่ขนาดตัวโดยพื้นฐานจะทำให้มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้ไม่เท่าเทียมกัน คนที่มีรูปร่างเล็ก บาง มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนสูงกว่คนรูร่างใหญ่

ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้

          ขาดฮอร์โมนเพศ ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนหรือได้รับการผ่าตัดรังไข่ออกจะมีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้สูงขึ้น สำหรับผู้ชายที่ขาดฮอร์โมนเพศชายก็มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้เช่นกัน

          ลักษณะการดำรงชีวิตแบบอยู่นิ่ง ไม่ค่อยมีการออกกำลังกาย เช่นทำงานแบบนั่งโต๊ะเป็นประจำ จะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนที่ทำงานแบบต้องออกกำลังกาย นอกจากนั้น คนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนัก ก็จะมีมวลกระดูกต่ำกว่าคนที่ออกกำลังกาย ตัวอย่างการออกกำลังกายที่มีการลดน้ำหนักต่อกระดูก เช่น การวิ่ง การเดิน แบดมินตัน ในวัยผู้สูงอายุที่เริ่มมีการเคลื่อนไหวร่ากายได้น้อยลง ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีมวลกระดูกที่ลดลง

          การกินอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ  ซึ่งในคนไทยส่วนใหญ่จะยังกินอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขได้

          ร่างกายได้รับวิตามินดีน้อย เช่น เจ็บป่วยจึงไม่ได้สัมผัสกับแสงแดด หรือเป็นโรคไต ทำให้ไม่สามารถรับวิตามินดีได้

          การใช้ยาบางอย่างเป็นเวลานาน เช่น การทานยากันชักบางชนิด ยาสเตียรอยด์

          ความผิดปกติของฮอร์โมนบางชนิดในร่างกาย เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือ เป็นโรคคุชชิ่งที่ทำให้ร่างกายมีระดับฮอร์โมนสเตียรอยด์สูง

          โรคข้ออักเสบ เช่นข้ออักเสบรูมาตอยด์ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้

          การสูบบุหรี่ ทานเหล้า