อาการปวดศีรษะในผู้สูงอายุ
รับดูแลผู้สูงอายุ,ดูแลผู้ป่วย,ผู้ป่วยระยะ พักฟื้น,บ้านพักผู้สูงอายุ,ให้อาหารทางสายยาง,กายภาพบำบัด,แผลกดทับ,สวน ปัสสาวะ,สมองเสื่อม,เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,โรคกระดูกและข้อ,หลงลืม,อัมพาต ครึ่งซีก,อ่อนแรงครึ่งซีก,อัมพฤกษ์,อัมพาต,เจาะคอ,อัลไซเมอร์
Goldenlife Nursing Home ติดต่อ : ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วย
02 – 584-3705 , 02-583-7709
inor-bidi;”>อาการปวดศีรษะในผู้สูงอายุ
แม้จะพบว่าผู้สูงอายุมีอาการปวดศีรษะไม่บ่อยเท่าคนหนุ่มสาว โดยพบว่าในช่วงอายุ 21-34 ปี ผู้หญิงร้อยละ 92 และผู้ชายร้อยละ 74 จะมีอาการปวดศีรษะ ซึ่งจะลดลงเป็นร้อยละ 66 และร้อยละ 53 ตามลำดับ ในผู้ที่มีอายุ 55-74 ปี และลดลงเหลือร้อยละ 55 และร้อยละ 22 ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 75 ปี แต่อาการปวดศีรษะก็ยังเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและมีความแตกต่างจากผู้ที่อายุน้อยกว่าดังนี้
ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดจากโรคปวดศีรษะชนิดไม่มีความผิดปกติในสมองเช่น ไมเกรน หรือปวดจากกล้ามเนื้อตึง น้อยกว่าคนหนุ่มสาว แต่โรคปวดศีรษะชนิดไม่มีความผิดปกติในสมอง ก็ยังเป็นอาการส่วนใหญ่ของอาการปวดศีรษะในผู้สูงอายุ ( พบร้อยละ 66 เมื่อเทียบกับผู้ที่อายุน้อยกว่า ซึ่งพบสูงกว่าร้อยละ 90 )
ผู้สูงอายุมีโอกาสปวดศีรษะจากโรคที่มีความผิดปกติสูงขึ้นโดยพบว่าเป็นสาเหตุได้ถึง 1 ใน 3 เช่น จากหลอดเลือดอักเสบ ก้อนเนื้องอกในสมอง ความผิดปกติจากโรคทางกาย หรือโรคเมทาบอลิก
กลุ่มที่เป็นโรคปวดศีรษะชนิดไม่มีความผิดปกติในสมอง อาการจะไม่แสดงออกชัดเจน
ผู้สูงอายุมีโรคที่เกิดร่วมหลายอย่าง จึงทำให้การวินิจฉัยและการรักษาทำได้ยากกว่าปกติ
อาการปวดศีรษะในผู้สูงอายุชนิดที่มีสาเหตุพบได้มากขึ้น จึงควรระมัดระวังและสังเกตอาการ โดยถ้ามีอาการบางอย่างต่อนี้เกิดขึ้น ต้องไปปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาจเป็นการปวดศีรษะชนิดมีสาเหตุ
ปวดศีรษะอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อย่างกะทันหัน ต้องระวังว่าอาจเกิดจากโรคหลอดเลือดในสมองแตกหรือผนังหลอดเลือดในสมองถูกแซะ
มีไข้หรืออาการตามระบบที่อวัยวะอื่น อาจเกิดจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรือหลอดเลือดสมองตีบ
มีอาการหรืออาการแสดงที่น่าสงสัยว่ามีโรคในสมอง เช่น แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งตัว ใบหน้าเบี้ยว เห็นภาพซ้อน พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้ ฟังไม่เข้าใจ
เริ่มปวดศีรษะครั้งแรกตอนอายุมากกว่า 50 ปี ซึ่งอาจเกิดจากโรคบางโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุกลุ่มนี้ เช่น หลอดเลือดอักเสบ เนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดในสมอง เลือดคั่งในสมอง
ในกรณีผู้สูงอายุที่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรังมาก่อน ถ้าอาการปวดเปลี่ยนไปจากเดิมทั้งในด้านตำแหน่ง ความรุนแรง ความถี่ และลักษณะการปวด ต้องระวังว่าจะมีความผิดปกติอย่างอื่นอีก
มีอาการปวดมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่าทาง เบ่งขับถ่าย หรือ ไอจาม เช่น โรคความดันในกะโหลกศีรษะต่ำจะมีอาการปวดศีรษะมากขึ้น เมื่อลุกนั่งหรือยืน ผู้ป่วยที่มีความดันในกะโหลกศีรษะสูงหรือมีก้อนเนื้อในสมองจะมีอาการปวดมาขึ้นในท่านอนราบ