รับดูแลผู้สูงอายุ,ดูแลผู้ป่วย,ผู้ป่วย ระยะ พักฟื้น,
บ้านพักผู้สูงอายุ,ให้อาหารทางสายยาง,กายภาพบำบัด,แผลกดทับ,สวน ปัสสาวะ,สมองเสื่อม,เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,โรคกระดูกและข้อ,หลงลืม,อัมพาต ครึ่งซีก,อ่อนแรงครึ่งซีก,อัมพฤกษ์,อัมพาต,เจาะคอ,อัลไซเมอร์
Goldenlife Nursing Home ติดต่อ ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วย
02 – 584-3705 02-583-7709
***โยคะ ทำได้ไม่ยาก***
การฝึกโยคะที่เร็วก็ไม่ต่างจากการออกกำลังทั่วไป ที่เน้นการฝึกเร็วและแรง จะเป็นผลเสียกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพได้มาก เช่น คนที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง แต่โยคะฝึกได้กับทุกเพศ ทุกวัย ทุกคนที่เจ็บป่วยด้วยโรคทั่วไป การฝึกโยคะที่ปลอดภัย และส่งผลดีสูงสุดต่อสุขภาพมักจะเคลื่อนไหวช้า มีสติกับการเคลื่อนไหว สามารถควบคุมลมหายใจให้ประสานสอดคล้องไปกับการเคลื่อนไหวของกาย มีเป้าหมายที่จะพัฒนาความสามารถในการหายใจที่ยาวและสบาย
โยคะเน้นความผ่อนคลายและสบาย ไม่มีการแข่งขัน เน้นผลทางด้านจิตใจเป็นสำคัญ การฝึกเคลื่อนไหวที่ช้าจะช่วยให้สังเกต เท่าทันกายและจิต มีช่วงหยุดนิ่งในท่า ที่จะได้เฝ้าสังเกตลมหายใจที่เต้นช้าลงและหยุดนิ่ง นำไปสู่จิตใจที่สงบนิ่งด้วย
ปกติชาวตะวันตกจะนำโยคะไปฝึกแบบเร็วๆ ให้เหมาะกับลักษณะนิสัย พฤติกรรมและสภาพอากาศที่หนาว แต่โยคะดั้งเดิมตามแบบตะวันออกนั้นจะเคลื่อนไหวช้า เพื่อเน้นการพัฒนาสติ เหมือนกับการฝึกไทเก๊กหรือชี่กง แนวการฝึกลักษณะนี้จะช้า ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือระบบประสาทผ่อนคลายทำงานได้เต็มที่ และจิตเข้าสู่ความสงบ
หากคุณมีความสนใจ มีเวลาน้อยคงไม่ใช่อุปสรรค ลองเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เรียนรู้โยคะสักครั้งก็จะพบว่าโยคะมีเทคนิควิธีการที่หลากหลาย เราสามารถนำไปปรับใช้ในวิถีชีวิตประจำวันได้ ฝึกได้ทุกเวลา ทั้งตอนอยู่คนเดียวหรืออยู่รวมกับผู้อื่นก็ได้ ในรถ ที่ทำงาน ในห้องน้ำ ห้องนอน ห้องครัว ก่อนนอน ตื่นนอน ที่สำคัญเราต้องมีเวลาให้กับตัวเอง
วิธีที่สั้นๆ และง่ายๆ สำหรับการฝึกโยคะที่ทำได้เลยในทุกที่ทุกเวลาที่อยู่คนเดียวคือ การกลับเข้ามาสำหรับร่างกาย เริ่มต้นด้วยการนั่ง ยืนหรือนอน อาจจะหลับตาเบาๆ แล้วกลับเข้ามาสำรวจลมหายใจ หรือควบคุมลมหายใจให้ลึก และยาว อาจจะทำตั้งแต่ 5-10 รอบลมหายใจ หรือแค่นั่งเฝ้าดูลมหายใจตามปกติ สำหรับความรู้สึกของร่างกาย กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย นี่ก็ถือว่าฝึกโยคะแล้ว เทคนิคนี้คือเทคนิคการฝึกลมหายใจ หรือสมาธิ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโยคะ
หรือถ้ามีเวลามากกว่านั้น หรือรู้วิธีการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่เรียกว่า “อาสนะ” ก็เริ่มฝึกได้ตามเวลาที่สามารถ จะเจียดได้ในแต่ละวัน ถ้าคุณพบว่า ร่างกายติดขัด ตัวตึง จิตใจว้าวุ่น มีเรื่องราวต่างๆ ที่ต้องคิดมากมาย ก็ควรจะขยายเวลาเพิ่มขึ้นให้สะสางของเสียที่สะสมตามร่างกายและจิตออกไป ยิ่งร่างกายติดขัด มาก จิตใจตึงเครียดมาก ก็ควรจะให้เวลามากขึ้นไปด้วย