โรคเบาหวานกับผู้สูงอายุ
รับดูแลผู้สูงอายุ,ดูแลผู้ป่วย,ผู้ป่วยระยะ พักฟื้น,บ้านพักผู้สูงอายุ,ให้อาหารทางสายยาง,กายภาพบำบัด,แผลกดทับ,สวน ปัสสาวะ,สมองเสื่อม,เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,โรคกระดูกและข้อ,หลงลืม,อัมพาต ครึ่งซีก,อ่อนแรงครึ่งซีก,อัมพฤกษ์,อัมพาต,เจาะคอ,อัลไซเมอร์
Goldenlife Nursing Home ติดต่อ : ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วย
02 – 584-3705 , 02-583-7709
โรคเบาหวานกับผู้สูงอายุ
โรคเบาหวานพบได้ในคนทุกเพศทุกวัยและปัจจุบันอัตราการเป็นโรคเบาหวานของคนไทยเพิ่มขึ้น โดยพบมากในผู้สูงอายุสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ที่รูปร่างอ้วนจะมีโอกาสเป็นเบาหวานได้สูงเช่นกัน ดังนั้นจึงมีคนจำนวนมากที่ไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้
เบาหวานเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่สร้างฮอร์โมนอินสุลินได้ไม่เพียงพอ และออกฤทธิ์ควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดได้ไม่ดี มีผลให้กลูโคสในเลือดสูงจนล้นออกมาในปัสสาวะ
ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างไร
ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นภายหลังมื้ออาหาร จะไปกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งฮอร์โมนอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือด และนำน้ำตาลไปใช้เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงาน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงโดยจะเก็บสะสมในรูปไขมัน ( ไตรกลีเซอไรด์ ) ที่เนื้อเยื่อไขมันตามใต้ผิวหนังและหน้าท้อง ขณะอดอาหารร่างกายสามารถสร้างน้ำตาลเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม คนปกติมีระดับน้ำตาล ( กลูโคส ) ในเลือดหลังอดอาหารนานกว่า 8 ชั่วโมง มีค่า 60 – 110 มก/ดล หรือภายหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมงจะไม่เกิน 140 มก/ดล
มีเกณฑ์อย่างไรในการวินิจฉัยโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานสามารถตรวจพบได้จากการตรวจเลือด โดยมีเกณฑ์การวินิจฉัยโรคดังนี้
– ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 126 มก/ดล
– ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดจากการตรวจเวลาใดก็ได้มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 200 มก/ดล ร่วมกับมีอาการของโรคเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำมาก ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวานควรรับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี เมื่ออายุ 40 ปี ขึ้นไป
โรคเบาหวานมีกี่ชนิด
1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักเกิดในเด็กจนถึงวัยรุ่น มีรูปผอมสาเหตุเกิดจากภาวะคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ ทำให้เกิดการอักเสบและมีการทำลายเซลล์ตับอ่อนจนหมด ทำให้สร้างอินซูลินไม่ได้ จึงต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน
2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่พบในเพศหญิง ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี มีรูปร่างอ้วนหรือปกติ และมีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวานมีสาเหตุจากร่างกายสร้างอินซูลินไม่เพียงพอและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
3. โรคเบาหวานชนิดอื่นๆ ที่พบได้ เช่น ความผิดปกติทาพันธุกรรม การได้รับยาบางชนิด โรคของตับอ่อน เป็นต้น
4. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในไตรมาสที่ 2 หรือ 3 เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์ไปต้านฤทธิ์ของอินซูลิน ภายหลังคลอดส่วนใหญ่โรคเบาหวานจะหายไป แต่ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีโอกาสเกิดโรคเบาหวานเมื่ออายุมากขึ้น
สาเหตุของโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง
สาเหตุโรคเบาหวานที่แท้จริงไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัยได้แก่
1. กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวครัวเป็นโรคเบาหวานจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น
2. ความอ้วน ขาดการออกกำลังกายและ ภาวะเครียดทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินไม่ดี
3. การติดเชื้อไวรัส ทำให้ตับอ่อนถูกทำลายจากร่างกายเกิดภูมิต้านทานต่อเซลล์ของตับอ่อน
4. อายุมากขึ้น ตับอ่อนมรการสร้างอินซูลินลดลง
5. โรคของตับอ่อน เช่น มะเร็งของตับอ่อน การผ่าตัดตับอ่อน ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังจากการดื่มสุรา เป็นต้น
6. ภาวะการณ์ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนจากรกหลายชนิดมีผลไปยับยั้งการออกฤทธิ์ของอินซูลิน ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หลายครั้งจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน
7. ยาบางชนิด ถ้าใช้ไปนานๆ จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน เช่น สเตียรอยด์ เป็นต้น
อาการของโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง
ผู้ทีมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติเล็กน้อย อาจจะยังไม่มีอาการ ส่วนใหญ่อาการของโรคเกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และภาวะแทรกซ้อนจากการควบคุมโรคไม่ได้ผล อาการที่สำคัญและพบบ่อย ได้แก่
1. ปัสสาวะบ่อยและจำนวนมากเนื่องจากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนล้นออกทางปัสสาวะ และดึงน้ำออกมาด้วย
2. หิวน้ำบ่อยและรับประทานอาหารได้มาก
3. หิวบ่อยและรับประทานอาหารได้มาก
4. น้ำหนักลดหรือผอมลงและอ่อนเพลีย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลในเลือดเป็นพลังงาน จึงสลายเนื้อเยื่อของร่างกายมาใช้ทาน
5. คันตามตัวหรืออวัยวะเพศ
6. ตามัว จากน้ำตาลในเรื่องเลือดสูงไปคั่งในตา ทำให้ตาพร่ามัวได้
7. ชาปลายมือและปลายเท้า จากการเสื่อมของเส้นประสาท
8. ซึมลงหรือไม่รู้ตัว จากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือผู้ป่วยที่ขาดการรักษาต่อเนื่อง
ผลกระทบของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคที่อันตรายถ้าไม่ได้รับการเอาใจใส่ในการรักษาทั้งตัวผู้ป่วยเองและทางการแพทย์ โดยมีผลกระทบได้ 2 อย่าง คือ
1. ผลกระทบเฉียบพลัน พบได้ในกรณีที่มีระดับน้ำตาลสูงมาก ทำให้เกิดอาการซึมลง ไม่รู้สึกตัวและอาจเสียชีวิตได้
2. ผลกระทบเรื้อรัง พบได้ในผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้มีผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ที่สำคัญคือ หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอ ไต และ ตา