โรคข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ

โกลเด้นไลฟ์ เนอร์สซิ่งโฮม logo
โกลเด้นไลฟ์ เนอร์สซิ่งโฮม logo

 

รับดูแลผู้สูงอายุ,ดูแลผู้ป่วย,ผู้ป่วยระยะ พักฟื้น,บ้านพักผู้สูงอายุ,ให้อาหารทางสายยาง,กายภาพบำบัด,แผลกดทับ,สวน ปัสสาวะ,สมองเสื่อม,เบาหวาน,ความดันโล หิตสูง,โรคกระดูกและข้อ,หลงลืม,อัมพาต ครึ่งซีก,อ่อนแรงครึ่งซีก,อัมพฤกษ์,อัมพาต,เจาะคอ,อัลไซเมอร์

Goldenlife Nursing Home ติดต่อ : ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วย

02 – 584-3705 , 02-583-7709

กายภาพผู้สูงอายุ
กายภาพผู้สูงอายุ

โรคข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ

            โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุนี้เกิดจากการที่ข้อต่างๆเสื่อมไปตามอายุขัย ส่วนใหญ่เกิดกับข้อใหญ่ๆ เช่นข้อสะโพก ข้อเข่า และข้อกระดูกสันหลัง ความผิดปกติเกิดจากผิวของไขข้อจะกร่อนไป ทำให้เกิดการเจ็บปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว และทำให้รูปร่างของข้อเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพปกติ ยิ่งมีการเจ็บปวดก็ยิ่งทำให้ต้องลดการเคลื่อนไหว เมื่อลดการเคลื่อนไหวก็ยิ่งทำให้กล้ามเนื้อรอบๆข้ออ่อนแอลง

โรคข้อเสื่อมมักจะเกิดจากข้อต้องรับน้ำหนักมากและนานเกินไป เช่น คนอ้วนที่ต้องทิ้งน้ำหนักตัวลงบนข้อเท้าตลอดเวลา หรือคนที่ต้องทำงานหนัก และพวกที่แบกของหนัก

ถ้าผู้สูงอายุท่านใดเป็นโรคข้อเสื่อม มีข้อแนะนำบางประการซึ่งจะช่วยลดความเจ็บปวดลงได้ และทำให้กล้ามเนื้อรอบๆข้อคงแข็งแรง และตงการเคลื่อนไหวได้ แม้จะยากที่จะลดการผิดรูปของข้อลงได้ แต๋ก็พอจะป้องกันไม่ให้เลวร้ายลงไปกว่าเดิม คือ

  1. 1.    เพื่อลดความเจ็บปวด
    1. ประคบความร้อนบริเวณข้อที่เจ็บ เช่น อาบน้ำร้อนหรือประคบน้ำร้อน หรือกระเป๋าไฟฟ้า หรือใช้ขี้ผึ้งร้อน
    2. นวดเบาๆ โดยนักกายภาพบำบัด
    3. ใช้ยาระงับปวดอย่างอ่อน เช่นแอสไพรินตามความจำเป็น หลีกเลี่ยงยาที่มีโคเดอีน ซึ่งจะทำให้ท้องผูก ถ้าต้องการยาที่แรงงกว่านี้ ควรปรึกษาแพทย์
    4. 2.    เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบๆแข็งแรง ให้ทำกายบริหารฝืนความตึงตัวจะเป็นการดีถ้าทำได้หลังประคบความร้อน และโดยความช่วยเหลือของนักกายภาพบำบัด ต้องพยายามให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว กระฉับกระเฉงอยู่เสมอเท่าที่จะเป็นไปได้
    5. 3.    เพื่อป้องกันการที่ข้อจะถูกทำลายมากขึ้น ควรลดน้ำหนักตัวลงถ้าอ้วนมากเกินไป ป้องกันการทิ้งน้ำหนักบนข้อที่เสื่อม เช่น ถ้าข้อเข่าเสื่อมก็ไม่ควรยืนถ้ามีโอกาสนั่งได้
    6. 4.    เพื่อป้องกันการยึดติดของข้อ
      1. ต้องเคลื่อนไหวข้ออย่างนุ่มนวลเสมอ
      2. อย่านอนซมอยู่กับเตียงถ้าไม่จำเป็น
      3. อย่านอนอยู่ท่าเดียวเป็นเวลานานๆ

ปัจจุบันมีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ โดยการใช้ข้อเทียมได้ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ นอกจากนั้น ยังไม่มีวิธีในการรักษาที่หายขาด