โรคตาเสื่อมในผู้สูงอายุ
รับดูแลผู้สูงอายุ,ดูแลผู้ป่วย,ผู้ป่วยระยะ พักฟื้น,บ้านพักผู้สูงอายุ,ให้อาหารทางสายยาง,กายภาพบำบัด,แผลกดทับ,สวน ปัสสาวะ,สมองเสื่อม,เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,โรคกระดูกและข้อ,หลงลืม,อัมพาต ครึ่งซีก,อ่อนแรงครึ่งซีก,อัมพฤกษ์,อัมพาต,เจาะคอ,อัลไซเมอร์
Goldenlife Nursing Home ติดต่อ : ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วย
02 – 584-3705 , 02-583-7709
inor-bidi;”>โรคตาเสื่อมในผู้สูงอายุ
ในขณะที่คนเราอายุมากขึ้น กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ยืด-หดเลนส์ลูกตาจะอ่อนกำลังลง ทำให้ลำบากในการเพ่งดูสิ่งของ โดยเฉพาะวัตถุเล็กๆ สายตาจะยาวออก ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นธรรมดาของร่างกาย จะมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละคน
นอกจากนี้ ผู้สูงอายุอาจสายตาเสียจากโรคภัยไข้เจ็บ ดังนั้นหากสายตาเสียไป ควรพบแพทย์เพื่อหาวิธีแก้ไข
โรคเกี่ยวกับตาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
– ต้อกระจก เกิดจากเลนส์ตามัวลงทีละน้อย จนทำให้มองไม่เห็นในที่สุด รักษาได้ด้วยการผ่าเอาต้อออก และใส่เลนส์ใหม่เข้าไปแทน
– ต้อหิน เกิดจากแรงดันภายในลูกตา โรคนี้หากทิ้งไว้จะทำให้ตาบอดได้ ต้อหินรักษาได้ด้วยการหยอดตา หรือหากจำเป็นก็สามารถผ่าตัดได้
– โรคเบาหวาน อาจนำไปสู่การถูกทำลายของเรติน่า ( จอรับภาพในลูกตา – เป็นส่วนที่ไวต่อแสง ) ทำให้ตาเสีย ถ้าควบคุมโรคเบาหวานได้ตาก็จะได้รับการปกป้องไม่ให้เสียไป ถ้าควบคุมไม่ได้อาการตามัวจะลุกลามต่อไป ปัจจุบันนี้มีการรักษาด้วยการยิงเลเซอร์ เป็นการระงับมิให้โรคลุกลามต่อไป
– โรคความดันเลือดสูง อาจมีผลถึงการทำลายเรติน่า ทำให้สายตาเสียการควบคุมโรคความดันเลือดจะมีผลป้องกันมิให้สายตาเสียได้
อุปกรณ์ช่วยในเรื่องเกี่ยวกับตา
– แว่นตาและคอนแทคเลนส์ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเกี่ยวกับสายตาของคนทั่วไป สำหรับผู้สูงอายุเมื่ออายุมากขึ้น อาจต้อแก้สายตายาวหรือสั้นทั้ง 2 อย่าง อาจต้องใช้แว่นตาที่มีเลนส์ 2 ชั้น แต่ควรต้องระวังเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
– เลนส์เทียม สำหรับผู้ที่เป็นต้อกระจก เมื่อได้ทำการผ่าตัดต้อกระจกออกแล้ว อาจใส่เลนส์เทียมเข้าไปภายในลูกตาได้ หรืออาจใช้แว่นตาพิเศษ สำหรับตาต้อกระจกที่ผ่าตัดแล้วแทนเลนส์ที่เอาออกไปได้
– แสงไฟในบ้าน ควรมีระบบแสงไฟที่ดี โดยเฉพาะทางเดินและบันได ควรมีไฟฉายติดไว้ประจำ
เตรียมตัวไว้สำหรับการเสื่อมของดวงตา
ตามาองไม่เห็นหรือตาบอด มักไม่ใช่เกิดจากความสูงอายุแต่เพียงอย่างเดียว อาจเกิดจากอุบัติเหตุก็ได้ หรืออาจเกิดจากโรคเรื้อรังทีละเล็กละน้อย เช่น เบาหวาน ความดันสูง ดังนั้นผู้สูงอายุควรเตรียมใจไว้แต่เนิ่นๆ เพราะต้องการการปรับตัวปรับใจในการทำกิจวัตรประจำวันเมื่อต้องเสียการมองเห็นไปโดยการเตรียมตัวมีดังนี้
– จงหัดเป็นคนมีระเบียบ วางสิ่งของไว้ในที่เดิมของมันเสมอ
– หัดทำกิจวัตรประจำวันด้วยการปิดตา วิธีการนี้ทำให้ท่านมีประสาทสัมผัสดีขึ้น การฟัง การทรงตัวดีขึ้น
– การมีสัตว์เลี้ยงเช่นสุนัข จะช่วยได้มาก