การประเมินปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ
รับดูแลผู้สูงอายุ,ดูแลผู้ป่วย,ผู้ป่วยระยะ พักฟื้น,บ้านพักผู้สูงอายุ,ให้อาหารทางสายยาง,กายภาพบำบัด,แผลกดทับ,สวน ปัสสาวะ,สมองเสื่อม,เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,โรคกระดูกและข้อ,หลงลืม,อัมพาต ครึ่งซีก,อ่อนแรงครึ่งซีก,อัมพฤกษ์,อัมพาต,เจาะคอ,อัลไซเมอร์
Goldenlife Nursing Home ติดต่อ : ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วย
02 – 584-3705 , 02-583-7709
การประเมินปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ
โดยทั่วไปเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ควรได้รับการประเมินสุขภาพจากแพทย์อย่างครอบคลุม เนื่องจากปัญหาการเจ็บป่วยในผู้สูงอายุมีความซับซ้อนและเกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายของผู้สูงอายุได้ ดูแล้วอาจเป็นเรื่องจุกจิกเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็มีหลายกรณีศึกษายื่นยันตรงกันถึงผลดีที่ชัดเจนที่สุดของการประเมินผู้ป่วยสูงอายุแบบครบถ้วน สิ่งที่ผู้สูงอายุควรได้รับการประเมินได้แก่
ปัญหาสุขภาพทางกาย
ได้แก่ โรคประจำตัวของผู้สูงอายุ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ต่อมลูกหมากโต นอกจากนั้นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้บ่อยในผู้สูงอายุก็ควรที่จะได้รับการประเมินเช่นกัน แม้ว่าผู้สูงอายุจะไม่ได้แจ้งกับแพทย์ เช่น ประวัติของการหกล้ม การได้ยิน ปัญหาในช่องปาก โรคทางระบบไหลเวียนเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อาการที่บ่งชี้ว่าอาจเป็นมะเร็ง เช่น น้ำหนักตัวลดงอย่างรวดเร็ว ไอเรื้อรัง การขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะผิดปรกติ ก้อนตามเนื้อตัวโตอย่างรวดเร็ว กลืนติดกลืนอาหารยาก เสียงแหบ นอกจากนั้นโรคอื่นๆที่พบบ่อยในผู้สูงอายุที่เกิดจากการเสื่อมลของร่างกาย ก็ควรได้รับการประเมิน เช่น ข้อเข่าเสื่อม หรือกระดูกพรุน
ปัญหาทาจิตประสาท
เช่นการสอบถามเรื่องของความจำ เพื่อประเมินว่ามีภาวะสมองเสื่อมหรือไม่ หรือ สอบถามอารมณ์ของผู้สูงอายุ เพื่อดูว่ามีอาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่
ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน
แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน พื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิต เช่น การอาบน้ำ การแต่ตัว ทานหารด้วยตนเอง เดินไปมา เข้าห้องน้ำ ส่วนระดับที่ 2 เป็นความสามารถขั้นสูง เช่น การจับจ่ายซื้อของ เดินทางออกนอกบ้านไปไหนมาไหนด้วยตนเอง การทำอาหาร การจัดยาที่ต้องทานเอง
ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุเป็นเหมือนกระจกสะท้อน ให้เห็นถึงความเจ็บป่วยต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บป่วยทางกาย เช่น ผู้สูงอายุช่วยเหลือตนเองได้ลดลง เมื่อมีอาการหัวใจวาย อัมพฤกษ์ โรคหลอดเลือดสมอง หรือเป็นมะเร็ง และความเจ็บป่วยทางจิตประสาท เช่น ภาวะสมองเสื่อมหรือโรคซึมเศร้า ผู้สูงอายุอาจเริ่มช่วยเหลือตนเองได้ลดลง นอกจากนั้นยังอาจเกิดจากปัญหาด้านครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เช่น เริ่มเดินไม่ได้ถ้าไม่มีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด กลัวการหกล้ม หรือสภาพในบ้านเปลี่ยนแปลไปทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เหมือนเดิม การดูแลรักษาโรคหลายๆชนิด หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นโรคส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุที่ไม่สามารถรักษาได้ให้หายขาด แต่การรักษาเพื่อให้ผู้สูงอายุยังรักษาระดับความสามารถในการช่วยเหลือตนเองได้ ถือเป็นเป้าหมายสำคัญในการดูแลผู้ป่วย
ผู้สูงอายุรายใดบ้างที่ควรได้รับการประเมินปัญหาสุขภาพ
เนื่องจากเวลาของแพทย์ในการดูแลอย่างใกล้ชิดค่อนข้างมีจำกัด และการประเมินปัญหาสุขภาพอย่างครบถ้วน ในผู้สูงอายุที่แข็งแรงมากๆ หรือมีความพิการที่ไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว อาจไม่เกิดประโยชน์เท่ากับการประเมินผู้สูงอายุดังต่อไปนี้
– อายุมากกว่า 75 ปี
– มีภาวะทุพพลภาพระดับน้อยหรือปานกลาง
– มีแนวโน้มที่จะต้องอยู่ในสถานพักฟื้น เนอร์สซิ่งโฮม
– มีการสนับสนุนจากครอบครัวและสังคมไม่ดี
– ผู้สูงอายุที่มีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันหรือช่วยเหลือตนเองได้ลดลง
– ผู้สูงอายุที่มีกลุ่มอาการโรคผู้สูงอายุ
o ความสามารถทาสมองบกพร่อง ได้แก่ อาการของภาวะสมองเสื่อม อาการซึมสับสนเฉียบพลัน ภาวะซึมเศร้า
o เดินเซ การเดินและทรงตัวได้ไม่มั่นคง ทำให้หกล้มและเดินลำบาก
o เคลื่อนไหวได้น้อย ต้องนอนอยู่กับที่
o กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
o อาการอื่นๆ เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
– ผู้สูงอายุที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงและอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ เช่น เพิ่งออกจากโรงพยาบาล เพิ่งมีเรื่องเศร้าโศกเสียใจ อยู่บ้านคนเดียว