การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

โกลเด้นไลฟ์ เนอร์สซิ่งโฮม logo
โกลเด้นไลฟ์ เนอร์สซิ่งโฮม logo

 

รับดูแลผู้สูงอายุ,ดูแลผู้ป่วย,ผู้ป่วยระยะ พักฟื้น,บ้านพักผู้สูงอายุ,ให้อาหารทางสายยาง,กายภาพบำบัด,แผลกดทับ,สวน ปัสสาวะ,สมองเสื่อม,เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,โรคกระดูกและข้อ,หลงลืม,อัมพาต ครึ่งซีก,อ่อนแรงครึ่งซีก,อัมพฤกษ์,อัมพาต,เจาะคอ,อัลไซเมอร์

Goldenlife Nursing Home ติดต่อ : ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วย

02 – 584-3705 , 02-583-7709

การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานควรปฏิบัติตัวดังนี้

–          ควรออกกำลังกายชนิดแอโรบิก สัปดาห์ละ  ครั้ง ครั้งละ 20 – 30 นาที เป็นอย่างต่ำ

–          การออกกำลังกายที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถทำได้ ได้แก่การเดิน โดยอาจเดินครั้งละ 1 กิโลเมตร ในเวลา 20 นาที แล้วค่อยๆเพิ่มระยะทางในการเดิน โดยระวังเรื่องการหกล้ม การออกกำลังกายชนิดแอโรบิกอย่างอื่นที่ผู้ป่วยเบาหวานสามารถทำได้เช่น ว่ายน้ำ เต้นรำ ปั่นจักรยาน

–          ควรสวมรองเท้าที่เหมาะสม ไม่หลุดง่าย ไม่กดเบียดเท้าให้เกิดการระคายเคือง

–          ควรทานอาหารตามปกติก่อนออกกำลังกาย และควรมีอาหารหรือลูกอมติดตัวไว้ เผื่อกรณีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

–          ควรดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อชดเชยการสูญเสียเหงื่อ

–          ในกรณีที่รักษาด้วยการฉีดอินซูลิน ควรหลีกเลี่ยงการฉีดที่ขา ถ้าออกกำลังกายโดยการใช้ขา เช่นวิ่ง เนื่องจากจะเพิ่มการดูดซึมยา

–          ถ้ามีเบาหวานลงจอประสาทตา ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายชนิดที่หนักหน่วงหรือการยกน้ำหนัก เนื่องจากอาจเพิ่มความดันโลหิตและทำให้เลือดออกในลูกตาได้

–          สังเกตอาการผิดปกติขณะออกกำลังกาย เช่น อาการที่แสดงว่าน้ำตาลในเลือดต่ำ ( หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออกมาก ตัวเย็น ) หรืออาการที่บ่งบอกว่าเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเช่น แน่นหน้าอกหรือเหนื่อยมาก

–          ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนเริ่มออกกำลังกายครั้งแรก โดยเฉพาะเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ